หน้าเว็บ

วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2563

รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ฉบับที่ 96 วันที่ 8 เมษายน 2563 เวลา 20.00 น. 1. สถานการณ์ในต่างประเทศ มีรายงานผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก รวม 206 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ 1 นครรัฐ เรือ Diamond Princess เรือ Grands Princess และเรือ MS Zaandam ในวันที่ 8 เมษายน จำนวน 1,435,310 ราย มีอาการรุนแรง 47,934 ราย เสียชีวิต 82,210 ราย โดยประเทศที่มีจำนวนผู้ป่วยยืนยัน 10 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 400,549 ราย สเปน 141,942รายอิตาลี135,586 ราย ฝรั่งเศส 109,069 ราย เยอรมนี 107,663 ราย จีน 82,807ราย (รวม ฮ่องกง 961ราย มาเก๊า44ราย)อิหร่าน 62,589 ราย สหราชอาณาจักร 55,242 ราย ตุรกี 34,109 ราย และสวิสเซอร์แลนด์ 22,328 ราย ประเด็นที่น่าสนใจในต่างประเทศ ณ วันที่ 8 เมษายน 2563 - สาธารณรัฐประชาชนจีน เมืองอู่ฮั่น ได้ยกเลิกมาตรการปิดเมืองหลังปิดไปเป็นเวลา 76 วันและได้เริ่ม เปิดเมืองแล้ว แต่ยังคงจำกัดการเดินทางเข้าออกต่างประเทศ โดยสนามบินในเมืองอู่ฮั่นได้เปิดให้บริการเฉพาะ เที่ยวบินเข้าออกภายในประเทศ และยังไม่อนุญาตเที่ยวบินเข้าออกไปยังปักกิ่ง ฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน สำหรับ การใช้บริการขนส่งสาธารณะในอู่ฮั่น ยังคงมีการใช้มาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังนี้ คนขับรถและผู้โดยสาร ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา มีการวัดอุณหภูมิและต้องโชว์Health code บนแอพมือถือ ซึ่งจะต้องมีสีเขียวจึงจะอนุญาตให้นั่งได้มีการลงทะเบียน โดยการสแกน QR Code เพื่อนั่งรถเมล์ สำหรับผู้ที่อายุ65 ปีขึ้นไป ซึ่งยังคงไม่สนับสนุนให้ใช้บริการขนส่งสาธารณะในขณะนี้และสำหรับเมืองอื่นๆ เช่น ปักกิ่ง มณฑลและเจ้อเจียง มีการออกมาตรการสำหรับทุกคนที่เดินทางจากอู่ฮั่นและพื้นที่อื่นในมณฑลหูเป่ย์ นอกจากนี้มีการปิดเมืองชายแดนจีนกับรัสเซีย โดยปิดด่านชายแดนที่ซุยเฟินเหอในจังหวัดยูเฟินเหอ หลังพบว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และไม่แสดงอาการเดินทางมาจากรัสเซีย - ประเทศอินโดนีเซีย สมาคมแพทย์แถลงการณ์ นับเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ที่แพทย์จำนวน 24 คน เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่รักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งนี้จำนวนแพทย์ที่เสียชีวิตเพิ่มขึ้นสองเท่าตั้งแต่ สัปดาห์ก่อน ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการขาดแคลนอุปกรณ์ช่วยป้องกันโรคของบุคลากรแพทย์ - ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ได้อนุมัติการใช้ยาใหม่ ชื่อ “INO-4800” ซึ่งเป็น DNA วัคซีนที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยเฉพาะ โดยได้ เริ่มทำการทดสอบยาดังกล่าวในระยะแรกกับมนุษย์ ในกลุ่มอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี 40 คนในเมืองฟิลาเดลเฟีย และแคนซัสซิตี้ที่เข้าร่วมทดสอบในสัปดาห์นี้การทดสอบระยะแรกจำนวน 2 ครั้ง และเว้นระยะห่างกัน 4 สัปดาห์ หลังจากนั้น จะศึกษาผลการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน และเก็บข้อมูลความปลอดภัยเบื้องต้น ซึ่งกระบวนการศึกษา อาจใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี - ประเทศญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีประกาศภาวะฉุกเฉิน เป็นเวลา 1 เดือน ในเมืองที่มีประชากร หนาแน่น ในกรุงโตเกียว และ 6 จังหวัด ได้แก่ ชิบะ, คานากาวะ, ไซตามะ, โอซากา, เฮียวโงะ และ ฟุคุโอกะ ซึ่งมี ประชากรรวมกันคิดเป็น 44% ของประชากรทั่วประเทศ เพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ มีอำนาจในการประกาศ ให้ประชาชนอยู่ในบ้าน และปิดธุรกิจต่างๆ ชั่วคราวได้โดยไม่ใช่การบังคับ แต่จะเน้นการกดดันให้ทำตาม และใน กรณีส่วนใหญ่จะไม่มีการลงโทษผู้ที่ไม่ปฏิบัติ 2. สถานการณ์ภายในประเทศ 2.1 การคัดกรองตามนิยามการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การคัดกรองผู้เดินทางเข้า-ออกที่ท่าอากาศยาน คัดกรองเที่ยวบินสะสมตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 7 เมษายน 2563 รวมทั้งสิ้น 36,790 เที่ยวบิน ผู้เดินทางได้รับการคัดกรองสะสมรวม 4,392,982 ราย พบผู้ป่วยที่มี อาการเข้าได้ตามนิยามการคัดกรองจำนวน 573 ราย การคัดกรองผู้เดินทางที่ท่าเรือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง วันที่ 7 เมษายน 2563 มียอดการคัดกรองเรือสะสม 1,442 ลำ มีผู้ที่เดินทางได้รับการคัดกรองสะสมรวม 132,744ราย พบผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้ตามนิยามการคัดกรองจำนวน 2 ราย การคัดกรองผู้เดินทางผ่านด่านพรมแดนทางบก ตั้งแต่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 7 เมษายน 2563 มีผู้ได้รับการคัดกรองสะสมรวม 1,774,519 ราย และการ คัดกรองผู้มาต่ออายุหนังสือเดินทางที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แจ้งวัฒนะ ตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2563 ถึง 8 เมษายน 2563 ได้ทำการคัดกรองรวมทั้งสิ้น 148,670 ราย รวมพบผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้ตามนิยามการคัดกรองที่ ช่องทางเข้าออกประเทศ จำนวน 575 ราย 2.2 ผลดำเนินการคัดกรองผู้ป่วยที่มีอาการตามนิยามเฝ้าระวังโรค วันที่8 เมษายน 2563 ณ เวลา 18.00 น. พบผู้ป่วยที่มีอาการตามนิยามเฝ้าระวังโรครายใหม่ จำนวน 1,660 ราย รวมยอดผู้ป่วยสะสมทั้งหมด จำนวน 28,709 ราย รายละเอียดตามตารางที่ 1 ตาราง 1 ผลดำเนินการคัดกรองผู้ป่วยที่มีอาการตามนิยามเฝ้าระวังโรค ประเภทของผู้ป่วย จำนวนผู้ป่วย สะสม ผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้ตามนิยาม 28,709 ราย ● คัดกรองพบที่สนามบิน (สุวรรณภูมิ (504) ดอนเมือง (52) ภูเก็ต (8) เชียงใหม่ (3) สุราษฎร์ธานี (2) อุบลราชธานี (2) อู่ตะเภา (1) อุดรธานี (1) ● คัดกรองที่ท่าเรือ 573 ราย 2 ราย • เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลด้วยตนเอง (โรงพยาบาลเอกชน 9,306 ราย โรงพยาบาลรัฐ 17,609 ราย และอยู่ระหว่างการสอบสวน 1,131 ราย) 28,046 ราย • รับแจ้งจากโรงแรม ศูนย์เอราวัณ มหาวิทยาลัย มัคคุเทศก์และอู่ ตะเภา 88 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม • หายป่วยและแพทย์อนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาล • อยู่ระหว่างการรักษาพยาบาล • เสียชีวิต ผู้ป่วยยืนยันที่มีอาการรุนแรง 2,369 ราย 940 ราย 1,399 ราย 30 ราย 36 ราย การติดเชื้อของผู้ป่วยยืนยันสะสม • จากภายในประเทศ 2,369 ราย 1,914ราย ประเภทของผู้ป่วย จำนวนผู้ป่วย สะสม • จากภายนอกประเทศ 455ราย ขณะนี้พบผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 2,369 ราย รักษาหายและแพทย์ให้กลับบ้าน 940 ราย ผู้ป่วยยืนยันที่เสียชีวิต 30 ราย ผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่พบในประเทศไทย มีค่ามัธยฐานของอายุเท่ากับ 37 ปี (1 เดือน - 86 ปี) เพศชาย 1,242 ราย เพศหญิง 1,019 ราย (ชาย:หญิง = 1.2:1) ไม่ทราบเพศ 108 ราย สัญชาติ ไทย 2,055 ราย จีน 33 ราย ฝรั่งเศส 22 ราย อังกฤษ 20 ราย ญี่ปุ่น 11 ราย อเมริกา 9 ราย รัสเซีย 11 ราย แคนาดา 8 ราย พม่า 9 ราย เยอรมนี 6 ราย อิตาลี 6 ราย สวีเดน 6 ราย เดนมาร์ก 5 ราย เบลเยียม 5 ราย สวิตเซอร์แลนด์ 5 ราย ปากีสถาน 4 ราย เกาหลีใต้ 3 ราย สิงคโปร์ 5 ราย อินเดีย 4 ราย ออสเตรเลีย 3 ราย โปรตุเกส 2 ราย อินโดนีเซีย 2 ราย สเปน 2 ราย กัมพูชา 2 ราย มาเลเซีย 2 ราย ฟิลิปปินส์ 2 ราย แอลเบเนีย 2 ราย อุซเบกิสถาน 1 ราย อิหร่าน 1 ราย นิวซีแลนด์ 1 ราย ฟินแลนด์ 1 ราย ยูเครน 1 ราย ลาว 1 ราย ไต้หวัน 1 ราย เซอร์เบีย 1 ราย เวียดนาม 1 ราย ไลบีเรีย 1 ราย ฮังการี 1 ราย เม็กซิโก 1 ราย ตูนีเซีย 1 ราย อินเดีย/ไทย 1 ราย เนเธอร์แลนด์ 1 ราย บราซิล 1 ราย อิสราเอล 1 ราย คาซัคสถาน 2 ราย ปาเลสไตน์ 1 ราย ไม่ทราบ 105 ราย ประวัติโรคประจำตัวที่พบ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง (17 ราย) ภูมิแพ้ (15 ราย) เบาหวานและความดันโลหิตสูง (11 ราย) หอบหืด (7 ราย) เบาหวาน (6 ราย) ความดันโลหิตสูง หัวใจโต และเกาต์ (1 ราย) ปอดอุดกั้นเรื้อรัง (1 ราย) เบาหวานและไขมันในเลือดสูง (1 ราย) เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไตวายเรื้อรัง (1 ราย) ไขมันในเลือด สูง (2 ราย) เบาหวาน มะเร็งลำไส้ และตับอักเสบ (1 ราย) ความดันโลหิตสูง และเกาต์ (1 ราย) เบาหวานและไต วายเรื้อรัง (1 ราย) เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง (1 ราย) กลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิดและ ไขมันในเลือดสูง (1 ราย) เส้นเลือดสมองตีบ (1 ราย) เส้นเลือดสมองตีบและมะเร็งเต้านม (1 ราย) มะเร็งปาก มดลูกและติดเชื้อเอชไอวี(1 ราย) ลมชัก (1 ราย) สะเก็ดเงิน (1 ราย) ภาวะซึมเศร้าที่เกิดจากการปรับตัว (1 ราย) มะเร็งต่อมน้ำลาย (1 ราย) ไซนัส (1 ราย) ไทรอยด์ (2 ราย) เกล็ดเลือดต่ำ (1 ราย) ไมเกรน (1 ราย) กล้ามเนื้ออ่อน แรง (1 ราย) ตับแข็ง (1 ราย) เบาหวาน ไขมันในเลือดสูงและติดเชื้อเอชไอวี (1 ราย) ความดันโลหิตสูงและไขมัน ในเลือดสูง (2 ราย) เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (1 ราย) โลหิตจาง (1 ราย) ซึมเศร้า (1 ราย) ลิ้นหัวใจรั่ว (1 ราย) วัณโรคและติดเชื้อเอชไอวี(1 ราย) เบาหวานและสะเก็ดเงิน (1ราย) รูมาตอยด์ (1 ราย) ไม่มีโรคประจำตัว (2,278 ราย) พบผู้ป่วยจากการคัดกรองที่สนามบิน 40 ราย (ในจำนวนนี้เป็นพลเมืองไทยที่รับ กลับจากเมืองอู่ฮั่น 1 ราย) เข้ารักษาในโรงพยาบาลด้วยตนเอง 1,472 ราย จากการติดตามผู้สัมผัส 857 ราย 3. มาตรการในประเทศไทย • กระทรวงสาธารณสุข น้อมนำพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างความ ร่วมมือเครือข่ายการแพทย์ทุกแห่งเป็น “ทีมประเทศไทย” พร้อมเจรจาทุกประเทศแสวงหาการสนับสนุนอุปกรณ์ การแพทย์ให้พร้อมทำงานต่อสู้โรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเต็มที่ • กระทรวงวัฒนธรรม ออกประกาศห้ามจัดงานสงกรานต์ทุกระดับ เพื่อลดความเสี่ยงในการติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยมีแนวทางปฏิบัติเทศกาลประเพณีสงกรานต์ ดังนี้ งดเว้นจัดงานสงกรานต์ทุกระดับ งดเว้นการเดินทางกลับภูมิลำเนา งดเว้นรดน้ำขอพรญาติผู้ใหญ่ทุกกรณีงดการเข้าร่วมกิจกรรมที่มีการรวมตัวกัน ของคนหมู่มากหรือเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค • กรมประมง เปิดช่องทางการจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น เช่น การขายผ่าน โซเซียลมีเดีย เว็บไซค์อีคอมเมิร์ซ ออนไลน์ ช็อปปิ้งบนแพลตฟอร์ม โดยเปิดระบบสั่งจอง (Pre order) ภายใต้ Fisheries shop โดยมีเงื่อนไข คือเกษตรกรต้องขึ้นทะเบียน (ทบ 1) และเป็นฟาร์มที่ได้รับรองมาตรฐานฟาร์ม เพาะสัตว์น้ำที่ดี (GAP) จากกรมประมงหรือหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การรับรองของกรมประมงเท่านั้น • จังหวัดชลบุรีผู้ว่าราชการในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อ เห็นชอบให้ปิดเมือง พัทยาอย่างเป็นทางการตั้งแต่เวลา 14.00 น. ของวันที่ 9 เมษายน 2563 เป็นต้นไป เป็นเวลา 21 วัน โดยปิด ทางเข้า - ออกเมืองพัทยา เหลือ 5 จุด พร้อมตั้งจุดตรวจคุมเข้มคนเข้า - ออก ทั้งยานพาหนะและบุคคล หากไม่ได้ อยู่อาศัยหรือทำงาน มีเหตุจำเป็นในพัทยาจะไม่ให้เข้าออกจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย • จังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดเดียวในภาคอีสาน ที่ยังไม่พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีประกาศ มาตรการปิดเมือง ห้ามบุคคลใดเดินทางเข้า-ออก ในเขตพื้นที่เว้นแต่เพื่อประโยชน์ในการรักษาพยาบาล การทำให้ ปลอดภัยจากเชื้อโรค การควบคุมป้องกันโรค การขนส่งสินค้าที่จำเป็น สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าทางการเกษตร ปศุสัตว์อาหารสัตว์แก๊สหุงต้ม น้ำมันเชื้อเพลิง การไปรษณีย์อุปกรณ์เครื่องมือเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ตั้งแต่ วันที่ 7 เมษายน 2563 จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 4. การสื่อสารความเสี่ยงกับประชาชน ● มาตรการตรวจคัดกรอง แยกกัก กักกัน หรือคุมไว้ให้สังเกตเพื่อการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุม โรคจากผู้เดินทางซึ่งมาจากท้องที่หรือเมืองท่านอกราชอาณาจักรกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรค COVID-19 ● กรณีจำเป็นต้องพบปะผู้อื่น ให้ใช้หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า และรักษาระยะห่างไม่น้อย กว่า 1 - 2 เมตรหรือ 1 - 2 ช่วงแขน และใช้เวลาพบปะผู้อื่นให้สั้นที่สุด ● หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ไม่นำมือมาสัมผัสตา จมูก ปาก โดยไม่จำเป็น ● ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น (เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว) เนื่องจากเชื้อก่อโรคทางระบบ ทางเดินหายใจสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ ● รับประทานอาหารปรุงสุกร้อน สามารถดาวน์โหลดเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ที่ https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/im_commands/im_commands09.pdf ทีมตระหนักรู้สถานการณ์ในภาวะฉุกเฉิน กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น